info@jerrysartaramastores.com | +66 45213698
ศิลปะไทย

ศิลปะไทยเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี แม้ว่าศิลปะไทยจะได้รับอิทธิพลจากประเทศอื่นๆ หลายประเทศแต่ก็ได้พัฒนารูปแบบ จนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่มีความแตกต่างไปจากชาติตะวันตก เช่น ศิลปะไทยจะดัดแปลงธรรมชาติไปตามคตินิยม จัดเป็นศิลปะแบบ อุดมคติ Idealistic Art หรือศิลปะไทยประเพณี ที่คิดสร้างสรรค์รูปแบบจากปรัชญา เช่น ความเชื่อในเรื่องสวรรค์นรกและกำหนดแบบแผนขึ้นที่เรียกว่าแบบครู เช่น มนุษย์ เทพ เทวดา สัตว์ หรือแม้แต่ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นแบบที่กำหนดขึ้นเอง เป็นต้น ซึ่งหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ที่มาของศิลปะไทย วันนี้เรามาดูด้วยกันเลย

วิวัฒนาการของศิลปะไทย

พุทธศตวรรษที่ 11-20 ตรงกับยุคสมัยของอาณาจักรที่สำคัญดังนี้

  • สมัยทวาราวดี ที่เชื่อว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม
  • สมัยศรีวิชัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อว่าศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่เมือง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีการพบ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร สำริดที่มีทรวดทรงงดงามเป็นอย่างมาก
  • สมัยลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากขอมผสมผสานในงานศิลปะ ศิลปะที่โดเด่นของยุคนี้ ได้แก่ พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
  • สุโขทัย เป็นยุคที่งานศิลปะไทยได้รับอิทธิพลทั้งในด้านสุนทรีย์และแนวความคิดจากสกุลช่างในประเทศอินเดีย เช่น สกุลศิลปะแบบอัมราวดี สกุลศิลปะแบบคุปตะหรือแบบคลาสสิก และสกุลศิลปะแบบปาละ ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคที่งานศิลปะไทยมีความเจริญถึงขีดสุด นับเป็นยุคคลาสสิกศิลปะไทย สังเกตได้จาก พระพุทธรูปสำริดสุโขทัย ที่มีพุทธลักษณะอันงามเลิศ มีขนาดใหญ่โต

พุทธศตวรรษที่ 21-23

อยู่ในช่วงยุคสมัยของอยุธยา เป็นช่วงที่มีอิทธิพลของขอมปรากฎ อยู่อย่างชัดเจน เช่น การสร้างปรางค์หรือปราสาทแบบขอม การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง และการสร้างเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองที่มีความงดงามมากอยู่ที่วัดชุมพลนิกายาราม เป็นต้น และในสมัยอยุธยานี้เองที่เริ่มมีชาวต่างประเทศ คือ โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส เปอร์เซีย อาหรับ ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะชาวตะวันตกและจีน ชาวต่างประเทศที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเข้ามามีบทบาทในการก่อสร้างและปฏิรูปสถาปัตยกรรมไทย เช่น การสร้างอาคารแบบ 2 ชั้น การติดตั้งน้ำพุ การก่อสร้างป้อมกำแพงต่าง ๆ รวมทั้งมีการปูลานหรือถนนอิฐ จนทำให้เกิดรูปแบบของอาคารพุทธศาสนาที่เรียกว่า “อาคารทรงวิลันดา” (ฮอลันดา)

พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นม

เป็นยุคของกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้

  • สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นยุคที่เริ่มนิยมนำเอาโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบจีนมาใช้ ในการก่อสร้างอาคารโบสถ์วิหาร ที่ช่วยให้สามารถก่อสร้างได้สะดวก รวดเร็ว และมีขนาดใหญ่โต เช่น พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และพระวิหารวัดกัลยาณมิตร จนเกิดลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยมรัชกาลที่ 3 คือ โบสถ์ วิหาร จะไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ มีการสร้างมณฑปและซุ้มประตูทรงมงกุฎ เป็นต้น นอกจากนี้รูปแบบของอาคารยังมีลักษณะแตกต่างไปจากแบบเดิม คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หรือการจำหลักไม้ ทั้งหน้าบันด้านหน้าและด้านหลัง แต่จะก่ออิฐและปั้นปูนหน้าบัน และบนผนังปูนใช้เสานางเรียงรายด้านข้างซ้ายและขวาเพื่อรับน้ำหนักชายคาแทนคันทวย และนาคสำรวย จึงนับเป็นยุคที่สถาปัตยกรรมไทยเจริญรุ่งโรจน์ไปสู่รูปแบบใหม่
  • สมัยรัชกาลที่ 4-5 เป็นยุคที่ศิลปะตะวันตกเข้ามาสู่ศิลปะไทยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลายอย่าง เช่น การเขียนภาพจิตรกรรมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเรื่องราว จากเรื่องศาสนา มาเป็นปริศนาธรรม ประวัติศาสตร์ หรือวิธีการใช้สี แสง-เงา ลักษณะกายวิภาค ระยะใกล้-ไกล ตามธรรมชาติ และมีการก่อสร้างตึก อาคารแบบยุโรป จากอิทธิพลของศิลปะตะวันตกทำให้ศิลปะมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดสถาบันการสอนศิลปะการช่างแบบยุโรป คือ โรงเรียนเพาะช่างและโรงเรียนประณีตศิลปกรรมของกรมศิลปากร เป็นต้น ซึ่งสถาบันเหล่านี้มีบทบาทอย่างมากในการถ่ายทอดความรู้ทั้งศิลปะสากลคู่ไปกับศิลปะไทย

จะเห็นได้ว่าศิลปะของไทยนั้นมีการผสมผสานที่สืบเนื่องจากการได้รับอิทธิพลจากศิลปะต่างชาติ แต่ก็ไม่เหมือนไปเสียทีเดียว เพราะความผสมผสานนี้ทำให้มีเกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงามมากๆ 

Tags
#blog foodpanda giftset ของขวัญ Shopee การเลือกซื้อนาฬิกาจากตัวแทนจำหน่าย ของเล่น งานศิลปะ ช้อปออนไลน์ ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ไหนดี ตรวจเครน ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกา ติดแก๊ส ที่นอนเด็ก น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ไฟฟ้า pod system ประกันรถยนต์ 3+ ราคา ประโยชน์ของสมุนไพร ผัดกระเพรา ผัดไทย พลาสติก กัน สนิม มอเตอร์เกียร์ รถติดแก๊ส รถรับจ้างขนของบางใหญ่ รองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ รับซื้อกระเป๋าแบรนด์ราคาสูง รับผลิตของที่ระลึก ราคา สร้าง บ้าน ร้านขายของเล่นเด็ก ร้านอาหารป่า ร้านเพชร วิธีถนอมอาหาร ศิลปะไทย สมัครงาน สั่งดอกไม้ หลอด t5 หางานบัญชี อาหารนก อาหารป่า อาหารพื้นบ้านของภาคเหนือ อาหารใต้ เครื่องเทศรสเด็ด เส้นก๋วยเตี๋ยว แก๊ส LPG VS น้ำมัน แผ่นอะคริลิค
Recent Comments